หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มหัศจรรย์ น้ำมันมะกอก

ได้บังเอิญไปอ่าน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ หมวดเกี่ยวกับสุขภาพมาค่ะ เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์เลยเก็บเอาเล่าสู่พี่ ๆ น้อง ๆ ในคณะฯ ค่ะ

หวังว่าจะมีประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะคะ เริ่มเลยหล่ะกัน



มหัศจรรย์ น้ำมันมะกอก

"หลายคนโปรดปรานอาหารอิตาเลียน หลายคนชอบแต่ไม่กล้ารับประทานบ่อยครั้ง

เพราะกลัวว่าความเสี่ยงที่เกิดจากส่วนผสมของแป้ง เนย ชีส

และความชุ่มฉ่ำของน้ำมันมะกอก จะทำให้คอเลสเตอรอลสูงเป็นเหตุให้โรคหัวใจถามหา"


แต่จากข้อมูลทางการแพทย์ ปรากฎว่า คนอิตาเลี่ยนที่เติบโตมาพร้อมกับการบริโภคอาหารที่ผ่านการปรุงจากน้ำมันมะกอกมาตั้งแต่เกิดอย่าง พิซซ่า พาสต้า เช่น สปาเกตตี หรือ ลาซานย่า ที่อุดมด้วยไขมัน กลับเป็นชาติที่เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือกน้อยกว่าชาวยุโรปเสียอีก







เคล็ดลับสุขภาพดีของชาวอิตาเลียนอยู่ที "น้ำมันมะกอก" เพราะเกือบทุกประเภทมีส่วนผสมของน้ำมันมะกอก พรั่งพร้อมด้วยสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรคได้หลายชนิดรวมทั้งบำรุงสุขภาพได้เป็นอย่างดีไม่แพ้คุณค่าจากสมุนไพรไทยบ้านเรา ประโยชน์จากน้ำมันมะกอกจึงมีมากมายดังนี้


"น้ำมันมะกอก" กำจัดไขมันชนิดเลว สร้างไขมันชนิดดี


จากข้อมูลการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โดยสมาพันธุ์น้ำมันมะกอกนานาชาติ (International Olive Oil Council) ยืนยันว่า น้ำมันมะกอกมีอนุกรมของสารประกอบมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ๆ ภายในร่างกายคนเรา เพราะน้ำมันมะกอกมีโครงสร้างทางเคมีที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ 55-83% ซึ่งเป็นไขมันชนิดดีที่มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ต่างจากไขมันสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นหลัก ในขณะที่น้ำมันจากเมล็ดพืชมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเป็นหลัก ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่มีอยู่มากในน้ำมันมะกอกนี้ทำให้ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กที่ได้บริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายได้รับไขมันชนิดดีที่สามารถป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ เด็กที่ได้บริโภคน้ำมันมะกอกตั้งแต่เล็ก ๆ มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง ขณะที่ในผู้สูงอายุ น้ำมันมะกอกจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ทั้งในเรื่องกางสร้างเซลล์ผิวหนังและความแข็งแรงของกระดูก รวมทั้งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ร่างกายมีความสมดุลช่วยให้ผู้สูงอายุแข็งแรงและมีอายุยืนยาวขึ้น

ภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ที่พบบ่อยคือร่างกายมีคอเลสเตอรอล ชนิด LDL ในเลือดสูง แต่ขณะเดียวกันพบว่ามีคอเลสเตอรอลชนิดดีที่เรียกว่า HDL ต่ำ ซึ่ง HDL จะช่วยกำจัดและลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ทั้งยังช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีที่ร่างกายต้องการได้ จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้


"น้ำมันมะกอก" ป้องกันมะเร็ง
ในน้ำมันมะกอกมีวิตามินอี และมีคาโรทีนในรูปของโปรวิตามินเอ รวมทั้งมีโพลีฟีนอลองค์ประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่หลักในการต้านอนุมูลอิสระที่ผู้ที่บริโภคน้ำมันมะกอกเป็นประจำ อย่างเช่น คนอิตาเลียน จึงมีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งต่ำกว่าชาติอื่น ๆ ในยุโรป





"น้ำมันมะกอก" ช่วยรักษาระบบทางเดินอาหาร

จากการทดลองโดยเปลี่ยนน้ำมันมะกอกแทนไขมันสัตว์ในอาหารของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ในคนไข้จำนวน 33% พบว่าสามารถลดอาการอักเสบของบาดแผลลงได้ และอีก 55% มีผลทำให้เกิดแผนเป็นน้อยลง

สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ลองรับประทานน้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะตอนเช้าเวลาท้องว่างทุกวัน จะช่วยให้อาการดีขึ้นมาอย่างทันตาเห็น นอกจากนี้น้ำมันมะกอกยังมีผลป้องกันการก่อตัวของนิ่วน้ำดี เพราะสรรพคุณของน้ำมันมะกอกจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดี และทำให้ปริมาณ HDL (High density lipoproteins) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเมตาบอลิซึมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการวิจัยในต่างประเทศพบว่า ผู้คนในอิตาลีซึ่งมีอัตราการบริโภคน้ำมันมะกอกสูงกว่าที่อื่น ๆ เป็นโรคนิ่วน้ำดีในอัตราที่ต่ำมากเช่นกัน


น้ำมันมะกอก เทรนด์ใหม่ของคนใส่ใจสุขภาพ


ปัจจุบันพบว่าในกลุ่มคนที่รักและใส่ใจการดูแลสุขภาพ ต่างหันมารับประทานน้ำมันมะกอกเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยในการป้องกันโรคแล้ว น้ำมันมะกอกยังช่วยบำรุงได้เป็นอย่างดี ในผู้ที่รับประทานน้ำมันมะกอกในรูปของน้ำมันโดยตรง จะได้ทั้งวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระครบถ้วนที่สุด และช่วยให้การย่อยอาหารภายในร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น ขณะที่การทอดอาหารด้วยน้ำมันมะกอก ช่วยให้อาหารไม่อมน้ำมันเพราะน้ำมันมะกอกจะให้ความร้อนสูง ทำให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง และไม่เสียคุณค่าทางโภชนาการ น้ำมันมะกอกส่วนที่เหลือจากการทอด ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้กว่า 10 ครั้ง ต่างจากน้ำมันประเภทอื่น ๆ ที่ทอดแล้วต้องทิ้งเลย




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ต้นฉบับ.
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้ แสดง ดัดแปลง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานดัดแปลงต่อยอดที่เผยเผยแพร่ต่อ
Payap University